ไม่ว่าผู้เขียนโดราเอมอนจะเผยตอนท้ายที่สุดว่า โนปิตะกำลังป่วยและกำลังจะเสียชีวิตก็ตาม เรื่องของโดราเอมอนเป็นภาพตัวแทน (representation) ของสังคมญี่ปุ่น ซึ่งมีผู้วิเคราะห์ไว้ก่อนเกี่ยวกับระบบสังคมดังที่ นายภูมิ น้ำวล นักวิชาการและบรรณาธิการอิสระ ได้วิเคราะห์ระบบชนชั้นทางสังคมในงานนี่จึงเป็นที่มาของงานเสวนาในหัวข้อ “Rereading Doraemon through the eyes of grown-ups” (ย้อนอ่านโดราเอมอนกันดูไหม?) จัดโดย ชมรมวรรณศิลป์ จุฬาฯ และชมรมสนทนาภาษาสิงห์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดังต่อไปนี้
โนบิตะ : เป็นร่างทรงของผู้เขียนทั้งสองคนเอง คือเป็น“คนชั้นกลางใหม่” มีพ่อทำงานบริษัท ส่วนแม่ลาออกมาเป็นแม่บ้านตามขนบญี่ปุ่น ซึ่งเป็นชนชั้นที่ปะทะกับตัวละครอย่าง ซูเนโอะ และ ไจแอนท์
ซูเนโอะ : เป็นตัวแทนของชนชั้นกลางเก่า หรือชนชั้น“นายทุน” ที่มีฐานะดี มีชีวิตที่สุขสบายและสามารถชี้เป็นชี้ตายคนระดับต่ำกว่าได้ด้วยเงิน
ไจแอนท์ : เป็นตัวแทนของชนชั้น“กรรมกร” โดยจะเห็นว่า ที่แม่ไจแอนท์เปิดร้านขายของ พ่อทำงานก่อสร้างและไจแอนท์เองเป็นคนมีพละกำลังมาก แต่ไม่มีความรู้ เวลาโกรธทุกคนมักจะต้องกลัว
ชิซุกะ : เป็นตัวละครแบบ “ชนชั้นสูง” หรือกลางค่อนข้างสูง เห็นได้จากการที่ชิซุกะเป็นคนเรียบร้อย พูดจาไพเราะแบบชาววัง นอกจากนี้ นามสกุล “มินาโมโตะ” ของชิซุกะยังพ้องกับสกุลของนักรบผู้สถาปนาระบอบโชกุนในญี่ปุ่นเมื่อปี 1735 อีกด้วย
โดราเอมอน : เป็นตัวแทนของระบบทุนนิยม กล่าวคือ การที่โนบิตะมีโดราเอมอนเข้ามาช่วยเหลือทำให้สมหวังจนได้แต่งงานกับชิซุกะในอนาคตนั้นแฝงนัยยะของการกระตุ้นให้ชนชั้นกลางต้องพัฒนาตัวเองไปตามระบบทุนนิยมสมัยใหม่นั่นเอง เพียงแต่โดราเอมอนไม่ใช่ทุนนิยมแบบกดขี่อย่างนายทุนแบบซูเนโอะ
…หากแต่เป็น “ทุนนิยมมีหัวใจ” คือ เป็นมิตรกับคน มีของวิเศษที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และทำให้การบริโภคดูเป็นสิ่งสวยงาม”
จากการวิเคราะห์ของภูมิ น้ำวล ได้แสดงความแตกต่างหลากหลายด้านเดียว คือ ด้านชนชั้นหรือ Class เมื่อวิเคราะห์ภาพการ์ตูน ที่เห็นชัดๆ ก็คือเรื่องของบทบาทชายหญิงหรือ Gender ซึ่งภาพตัวแทนของหญิงนั่นคือ ซิซูกะ ไจโก๊ะ นอกจากนั้นเป็นบทบาทของพ่อแม่ของตัวละครแต่ละตัวที่เป็นภาพตัวแทนของบทบาทชายหญิง ในฐานะของหญิงแท้ ชายแท้ในยุคโมเดิร์น ในหนังสือไม่ได้แสดงถึงเพศที่สาม ผู้อพยพเข้าเมืองในประเทศญี่ปุ่น ชาติพันธ์ที่แสดงออกยังไม่ถูกแสดงออกมาเท่าไร แต่สิ่งที่แสดงออกมาถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน คือ ความล้มเหลวในการศึกษาเล่าเรียนในยุคโมเดิร์นของโนบิตะ ไม่ว่าจะวิเคราะห์ว่า โนปิตะเป็นเด็กพิเศษหรือไม่ การที่โนบิตะประสบความล้มเหลวทางการเรียนอาจมาจากความหลากหลายด้านความถนัดและลีลาการเรียนรู้ ความแตกต่างหลากหลายที่ภาพตัวแทน (Representation) ทำให้ตาบอดสี มองเห็นว่าเด็กเหมือนๆ กันหมดความล้มเหลวของโนบิตะ เป็นเพราะคำอธิบายว่า ขี้เกียจ ฝันกลางวัน ไม่มีความอดทน แต่ในภาพความล้มเหลวไม่ได้มองไปที่สถาบันการศึกษาที่บ้าการวัดประเมินผลจนทำให้โนบิตะพ่ายแพ้ทางด้านการศึกษา นอกจากนั้นการกลั่นแกล้งก้ันของตัวละคร เช่น ซูเนโอ๊ะ ที่เป็นตัวแทนของชนชั้นที่ร่ำรวยได้พูดกล่าวร้ายหรือฟ้องครูให้โนบิตะถูกทำโทษ นอกจากนั้นการติดสินใจใช้กำลังของไจแอนท สะท้อนความรุนแรงเชิงโครงสร้าง
ในยุคโมเดิร์นได้แบ่งแยกความโง่ ฉลาด จากการวัดผลประเมินผล เช่น การวัดไอคิวหรือการวัดอื่นๆ และใช้ผลของตัวเลขเมื่อยุคโมเดิร์นตอนปลาย มีผู้นำเสนอความแตกต่างหลากหลายทางด้านสติปัญญาซึ่งได้ถูกอธิบายโดยการ์ดเนอร์ ว่าคนเรามีสติปัญญาแตกต่างกันถึงแปดอย่าง ทั้งด้านตรรกภาษาวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปะ ดนตรี การเข้าสังคม ด้านธรรมชาติและความเข้าใจตนเอง ซึ่งลักษณะพหุปัญญานั้นเกิดการการอธิบายการทำงานของสมอง ซึ่งสมองส่วนที่ทำงานมากที่สุดก็จะเกิดเส้นใยสมองแน่นหนา ในกรณีของโนบิตะผู้เขียนตีความว่าเขาใช้จินตนาการสมองซีกขวา เป็นหลัก มีลีลาการเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่เข้าใจและโนบิตะอาจเป็นเด็กพิเศษที่มีความแตกต่างหลากหลายและในเรื่องโนบิตะนี้ผู้เขียนตีความว่านักเขียนที่เขียนการ์ตูน กำลังสะท้อนชีวิตจริงของผู้เขียนที่เป็นคนชายขอบด้านตรรกภาษาและคณิตศาสตร์แต่ผู้เขียนถนัดด้านศิลปะการใช้สมองซีกขวา ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบการศึกษาหลักที่เน้นระบบตรรกะเพื่อนำประเทศไปสู่ระบบอุตสาหกรรม
ภาพตัวแทนของ “รัฐ” ในการ์ตูน ก็คงเป็นโรงเรียนที่โนปิตะที่เรียนอยู่ ซึ่งคงเป็นยุคหลังสงครามและกำลังสร้างรัฐสมัยใหม่หรือ “รัฐชาติ” ตัวแทนรัฐ ผ่านโรงเรียน ในโรงเรียนไม่ได้นำเสนอครูคนอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์ผู้ชาย ไว้ผมสั้น แต่งตัวเรียบร้อย ใส่แว่นตา สิ่งที่โหดเหี้ยมของรัฐชาติ สำหรับเรื่องนี้ก็คือการวัดประเมินผลแบบเดียวที่ผลักเด็กออกไปให้กลายเป็น “คนอื่น” (The Otherness) ซึ่งก็นำเสนอตรงไปตรงมาเกี่ยวกับ การวัดการประเมินผลอันเป็นตัวแทนแห่งความเป็นกลางอำนาจการรับรองของรัฐ ดังนั้นจึงไม่พบหัวใจของมนุษย์ในโรงเรียนแห่งนี้ นอกจากสร้างภาพโนบิตะให้เป็นคนโง่ซึ่งก็มาจากเกณฑ์ชุดหนึ่งนั่นเอง แต่เมื่อโนบิตะได้พบครูแบบ “โดราเอมอน” ซึ่งมีลักษณะครูที่เป็นเหมือนกับเพื่อนและนำโลกการศึกษาปกติไปสู่ Informal Education ซึ่งมีความสนุก ท้าทาย มีการวางแผน การเผชิญสถานการณ์ของเด็กๆ เป็นตอนๆ เมื่อมองแว่นตามหน้าที่ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่การศึกษา หรือระบบการศึกษา แต่แท้จริงแล้วสิ่งที่ดึงโนบิตะให้มีศักยภาพมากที่สุดก็คือ การศึกษาแบบ Informal Education ที่โนบิตะรู้สึกสนุก ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นตอนเผชิญสิ่งแปลกๆ เช่นไดโนเสาร์ ผ้าคลุมกาลเวลา ทำให้โนบิตะ กำหนดสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ในขณะที่อยุ่ในโรงเรียนก็จะถูกกำหนดจากอำนาจของโรงเรียน
ระบบการศึกษาหลากหลายที่ปรากฏในเรื่องนี้ โรงเรียนยุคโมเดิร์นของ “รัฐชาติ” เน้นการบ้าการแข่งขัน การประเมินผลแบบวิทยาศาสตร์ ความรู้สึกที่ไปโรงเรียนแบบ “แปลกแยก” ทำให้โนบิตะแพ้ในระบบนี้ ไร้คุณค่าและศักดิศรีอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับสถานศึกษาในยุคโมเดิร์นทั้งโลก ที่ให้อำนาจสถาบัน มากกว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ระบบการศึกษาแบบที่สอง คือการศึกษานอกระบบ พบจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ ความคาดหวังในความก้าวหน้าของตระกูลซึ่งได้ส่งหุ่นยนต์โดราเอมอนมาโค้ชให้โนบิตะ ส่วนใหญ่เพื่อเป้าหมายในอนาคตของตระกูลที่จะต้องไม่ได้แต่งงานกับไจโก๊ะ ซึ่งเป็นภาพต้วแทนของชนชั้นแรงงาน แต่ระบบการศึกษาที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ Informal Education ที่ใช้ร่วมกับของวิเศษทำให้เผชิญกับปัญหาและการแก้ไขปัญหา ในแต่ละตอนของการ์ตูนโดราเอมอน เป็นการผจญภัยที่น่าสนุก มีการคิดและการทำ จากการที่โนบิตะได้คิดเอง ทำเอง ตลอดจนคุณธรรมต่างๆ เช่น โนบิตะ อิจฉา เดคิสุงิ ซึ่งเป็นนักเรียนรูปหล่อ เรียนเก่งและชอบไปติวให้ “ซิซูกะ” หลายครั้งที่โนบิตะ พยายามแกล้ง เดคิสุงิ แต่สุดท้ายก็ไม่ทำ เนื่องจากเห็นความดีของ เดคิสุงิ เป็นต้น
ความเป็นการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน นอกจากสะท้อนความแตกต่างหลากหลายของ ผู้คนที่เป็นภาพตัวแทน เศรษฐกิจสังคมการเมืองแล้ว ยังมีความแตกต่างหลากหลายของบทบาทชายหญิง สถานบทบาทชายหญิง ซึ่งความแตกต่างหลากหลายได้ถูกทำให้รู้สึกว่าเหลือแค่เด็กและนักเรียน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างครู ซึ่งครูก็มีความแตกต่างหลากหลาย ในโรงเรียนของรัฐที่ปรากฏครูที่มีความเข้มงวดในการวัดประเมินผล ซึ่งทำให้โนบิตะแพ้ แต่ก็ยังมีครูที่หลากหลายที่โนบิตะได้เรียนรู้ เช่น พ่อ แม่ กลุ่มเพื่อน ครูฟาร์ แบบโดราเอมอน หนังสือการตูน สื่อ โทรทัศน์ที่โนบิตะชอบดู การเล่นของเล่น ล้วนแต่เป็นครูของโนบิตะทั้งสิ้น ตลอดจนระบบการศึกษาที่แตกต่างหลากหลาย ที่แสดงการครอบงำแบบรัฐจากการแบ่งแยกงานกันทำในระบบทุนนิยม ในฐานะการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบจากการเรียนรุ้ในครอบครัว กลุ่มเพื่อนและการศึกษาที่โนบิตะนิยามและกำหนดขึ้นเอง ผ่านการเรียนรู้กับของวิเศษของโดราเอมอน หรือ Informal Education ในมิติพหุวัฒนธรรม ความแตกต่างหลากหลายแบบพหุลักษณ์ในการ์ตูนโดราเอมอนนี้ แม้ตัวละครจะแสดงภาพตัวแทนในกลุ่มตัวละครเล็กๆ แต่ก็อธิบายพหุวัฒนธรรมได้เกือบทุกแง่มุมไม่ว่า เรื่องความแตกต่างหลากหลายของคนผู้เรียน ความแตกต่างหลากหลายของครู ความแตกต่างหลากหลายของระบบการศึกษา