“If not now, when?”
ถ้าไม่ใช่เป็นตอนนี้ ถามที … จะไปเมื่อไหร่?
เป็นคำถามที่ผุดขึ้นมาในหัว ปนความกล้าๆ กลัวๆ ว่า “จะรอดไหม” ถ้าไป “เลห์ ลาดัก”
“A good traveler has no fixed plans and is not intent on arriving.”
นั่นสิ อย่ารีรอ อย่าเลือกเวลา อย่าวางกฎเกณฑ์อะไรให้เยอะไปจนมัดเราไว้แล้วออกไปเที่ยวไหนไม่ได้
ว่าแล้วก็จัดแจงจองตั๋วไปอินเดียเลยดีกว่า วีซ่ามีแล้วไม่ใช่ปัญหา ไกด์ก็หาได้แล้ว แต่โจทย์ที่ให้ไปคือ ไม่เน้นลำบาก เพราะชีวิตตอนนี้ก็ยากพออยู่แล้วไกด์ก็จัดแจงหาโรงแรมดีหน่อย ใกล้ Main Bazaar เช่ารถ Innova
แล้ว …. ลุย – เลห์ – เลย
8 วัน ที่เลห์ ลาดัก กับช่วงเวลาหฤหรรษ์ มันจะเป็นยังไง ยังไม่รู้ในตอนนั้น
แต่ตอนที่ปั่นรีวิวนี้อยู่ รู้แล้วว่า “People don’t take trips, trips take people.”
เลห์ คือห้องเรียนธรรมชาติที่กว้างใหญ่ที่ถูกจัดสรรไว้ให้กับคนที่เหมาะสมในบทบาทนั้น
ทุกสถานที่ก็เช่นกัน
เราควรเอาตัวไปอยู่ในที่ที่เราอยากไป ไปแล้วสบายใจ
Die with memories, not with dreams.
ตายไปพร้อมกับความทรงจำ ไม่ใช่ตายในความฝัน
และเมื่อคุณฝันจะไปเลห์แบบฉัน Just do it – ทำมันซะ
แม้ว่ารองเท้าที่ใส่จะไม่ใช่ไนกี้ แต่ขอให้เลือกคู่ที่สวมแล้วสบาย
“เราพร้อมจะลุยกันมานานแล้ว”
Wander often, wonder always, Leh Ladakh
“Travel is my therapy.” ภายใต้ความเจ็บปวดที่เจอนั้น การเดินทางจะเยียวยาเราเอง
บางทีการได้กลับไปอยู่ท่ามกลางธรรมชาติกว้างใหญ่ อาจจะทำให้เรารู้สึกดีจากการได้ห่างหายจากสารพันปัญหาเรื่องราวที่ถาโถมเข้ามาจนแทบรับไม่ไหว
การให้เวลาเป็นตัวจัดสรร การให้ธรรมชาติเป็นเครื่องบำบัด ปราศจากโลกภายนอกที่วุ่นวาย ไม่มีการติดต่อสื่อสารใดๆ อาจจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น แม้จะเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งก็ตาม
“ตั้งหลักเพื่อตั้งต้น”
No matter how sophisticated you may be, a large granite mountain cannot be denied
– it speaks in silence to the very core of your being.
ผมจึงค้นหาทริปท่องเที่ยวใหม่ ที่ห่างไกลผู้คนแต่เข้าใกล้ธรรมชาติ ปราศจากการปรุงแต่ง ไม่มีแสงสี มีแต่แสงดาวและธารน้ำไหล มีต้นไม้เป็นเพื่อน มีภูเขาหิมะเป็นกำแพงให้พักไหล่ เลยตกลงปลงใจไป “เลห์ ลาดัก” (Leh Ladakh) ครับ
ในการจะไปเที่ยวเลห์ ลาดักนั้น (หรือแม้แต่เที่ยวที่ไหนก็ตาม) สิ่งสำคัญสำหรับนักเดินทางอย่างเราคือ “ต้องเตรียมข้อมูลไว้เยอะๆ ครับ” เพื่อที่จะได้เตรียมตัวกันได้ถูกจะได้เที่ยวได้สนุก ไม่กังวล โดยเฉพาะคนที่กลัวว่าจะแพ้อากาศ จะมีอาการแพ้ความสูง
หลายคนบอกว่าไม่รู้จะไปทำไม
ถึงแม้ว่าการเดินทางหรืออาห
อย่างที่บอกครับว่า
“ถ้าเราไม่ออกเดินทาง เราจะไม่รู้เลยว่า …โลกใบนี้กว้างใหญ่เพียงใด”
รู้จักเลห์
เลห์เป็นเมืองหลวงของแคว้นล
เลห์จัดอยู่ในรัฐ Jammu & Kashmir ซึ่งเขตแดนติดกับ 3 ประเทศ คือ อินเดีย ปากีสถาณ ทิเบต ซึ่งกลายเป็นดินแดนพิพาทระหว่างอินเดียกับปากีสถาน แต่ตอนนี้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย ทั้งๆ หน้าตาคนที่นี่คล้ายคนจีนทิเบตมากกว่า ไกด์เล่าว่า มีความพยายามที่จะแยกตัวออกมาปกครองตนเอง แต่แน่นอนว่า อินเดียย่อมไม่ยอม
เลห์ ลาดักอยู่เหนือระดับน้ำทะเล
ถ้าใครเคยดูจากรูปจะเห็นว่า
จะไปเลห์ ลาดัก ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
อย่างแรกเลยคือวีซ่าอินเดีย
ข้อแตกต่างกันก็คือ 1. เรื่องราคา 2.ก็คือว่าวีซ่าท่องเที่ยวป
ไปเที่ยว เลห์ ลาดักเดือนกันยาสวยไหม?
อันนี้ต้องแล้วแต่ความชอบเล
ส่วนใครที่รอเที่ยวช่วงหยุด
ไปยังไง?
การเดินทางไปเที่ยว เลห์ ลาดัก สามารถเลือกสายการบินได้ตาม
แต่ต้องดูให้ดีว่าสายการบิน
ผมเลือกบินกับ Jet Airways เพราะว่ามีโปรโมชั่นออกมาพอดี ราคาหมื่นต้นๆ แบบนี้รับได้สบาย บินกันยาวไป 4 ตุ๊บ
Bangkok – Delhi ไฟล์ทออก 2 ทุ่ม10 ถึงเดลี 5 ทุ่มกว่า
อีกเรื่องที่ต้องระวังก็คือ
อ่อ!! กว่าจะรับกระเป๋าอีกก็ใช้เว
จากนั้นก็ไปรอต่อเครื่อง Delhi – Leh ไฟล์ตี 5.15 น. ไปถึงเลห์ 6 โมงครึ่งตอนเช้า มีเวลาต่อเครื่องราวๆ 4 ชั่วโมง เดินเล่นในสนามบินอินทิราคานธีได้ ที่อินเดียแปลกอย่างนึงคือ เทอร์ทินัลในประเทศจะใหญ่และมีของขายเยอะกว่าเทอร์มินัลอินเตอร์อีกครับ
เมื่อถึงเลห์ ก็กรอกใบเข้าเมือง สั้นๆ ยื่นให้เจ้าหน้าที่ ส่วนเพอร์มิตนั้น ไกด์แลนด์จะเป็นคนทำเอกสารให้เราครับ
เที่ยวไปในเลห์
ส่วนการเดินทางภายในเลห์ก็ม
ส่วนผมเลือกเป็นรถ โตโยต้า Innova นั่ง 3-4 คน (ไม่รวมคนขับ) กำลังดี ไม่เบียดเกินไป ราคาอาจจะแพงกว่ารถ Tempo หน่อย เพราะตัวหารมากกว่า แต่รับประกันว่าสบายกว่ามากครับ
ส่วนการใช้ไกด์ถามว่าจำเป็น
“แก๊งค์บอยแบนด์ของเรา”
เวลานั่งรถไปตลอดทางจะเจอกลุ่มมอเตอร์ไซค์ ส่วนมากเป็นคนอินเดีย มีฝรั่งด้วย อย่างกลุ่มนี้มาจากออสเตรเลีย ขับรถเที่ยวไปเรื่อยๆ ลุยๆ ดีเหมือนกัน เลยแนะนำว่าครั้งหน้าให้ไปขี่รถเล่นที่เมืองไทย
ขโมยมอเตอร์ไซค์แขกอินเดียมาเต๊ะท่าด้วย
เสื้อผ้า หยูกยา ครีมทาผิว
ในการเตรียมตัวเรื่องของหยู
ที่สำคัญคือต้องเตรียมผ้าปิ
ส่วนใครที่ผิวแห้งก่อนไปก็บ
เมื่อไปถึงที่เลห์ก็เน้นจิบน้ำเยอะๆ ในส่วนของลิปมันก็ควรจะเอาไ
เสื้อผ้าคอลเลคชั่นนี้ที่เลือกไปเป็นของ “Royal Ivy Regatta” คอลเลคชั่นล่าสุดที่ออกมาเป็น Winter พอดี
ผมเห็นที่ RIR Shop สาขาปิ่นเกล้า แว๊ปแรก เออ Mood & Tone ดูอบอุ่นดี สบายๆ ชอบลวดลายของคอลเลคชั่นนี้ เป็นเหมือนชนเผ่าอะไรสักอย่างในอเมริกา พนักงานขายบอกว่าเป็น “ลายนาวาโฮ” (Navajo) พวกลายหมวกอินเดียแดง ลายขนนก อะไรแบบนี้ ดีไซน์เก๋ดีครับมีความผสมผสานระหว่าง Urban กับ Native ตามซิกเนอร์ของแบรนด์ที่เน้นความเป็น American Preppy
นี่ก็จัดมาหลายตัวเหมือนกัน เพราะกลัวว่าจะหนาวก็ใส่ทับๆ ซ้อนๆ กันเอา ทั้ง สเวตเตอร์ เสื้อเชิ๊ต คอลเลคชั่นอื่นก็มีนะ จริงๆ ที่ชอบคือกางเกงยีนส์ ใส่แล้วแห้งสบาย เป็นผ้า Dry จากญี่ปุ่น ใส่ 2 ตัวสลับกัน 8 วันเอาอยู่
อาหารการกิน
เรื่องของอาหารการกิน ส่วนมากที่นั่นจะเป็นอาหารม
จริงๆ ในเลห์ มีร้านอาหารที่อยากจะแนะนำอยู่ 2 ร้าน ร้านแรกคือ Chop Stick เป็นร้านขายอาหารจีน ญี่ปุ่น ไทยก็มี รสชาติค่อนข้างดี อยู่ไม่ไกลจากตลาดเท่าไร สามารถเดินไปทานได้ครับ ดูจากรางวัลที่การันตี ก็คงพอเชื่อได้ว่าร้านนี้โอเค
ส่วนอีกร้านจะอยู่ห่างจากเลห์ไปทางเมือง Shey ราวๆ 30 กิโลครับ ทานรอบแรกตอนไปเที่ยว Tiksey ร้านคือดีย์ มีความร่มรื่น ร้านตกแต่งเก๋ จะนั่งอินดอร์ กลางแจ้งได้หมด เมนูอาหารก็เน้นฝรั่ง ซีซ่าร์สลัดรสชาติดี พิซซ่าคือเป็นอะไรที่ต้องสั่ง ส่วนแกงเขียวหวาน ค่อนข้างเหมือนที่ไทย เพียงแต่ใส่ครีมแทนกะทิ แต่รสชาติเข้มข้นดีครับ ร้านนี้ชื่อ Cafe Cloud
ติดใจมากถึงขั้นต้องมาทานมื้อเย็นในคืนสุดท้ายในเลห์อีกรอบ แม้ทางจะค่อนข้าวไกล แต่เพราะอยากได้บรรยากาศแบบรอบกองไฟ นั่งผิงไฟ เอาไออุ่น แล้วกินพิซซ่ากับน้ำมะนาวร้อนๆ เข้ากันดีแหะ
ส่วนดงกะหล่ำปลีที่เห็น เป็นส่วนหนึ่งของพืชผักสวนครัวที่รีสอร์ตเมืองนูบร้า วัลเลย์ เค้าปลูกไว้เพื่อทำอาหารให้แขกของรีสอร์ตได้ทาน เป็นพืชผักปลอดสาร มีกะหล่ำปลี ผักชี ผักกาด ถั่วลันเตา แล้วก็มีต้นแอปเปิ้ลให้เรากระโดดเด็ดกินสดๆ ชอบมาก
เลห์-ไฮไลท์
มาถึงเลห์ เช้าวันแรกอย่าเพิ่งเปรี้ยวรีบเที่ยวซะล่ะครับ ควรเข้าโรงแรมไปพักผ่อน เอาแบบให้ได้นอนจริงๆ นะครับ เพราะจากประสบการณ์ที่ทิเบต สอนให้รู้ว่า การนอนให้พอสำคัญมาก มิเช่นนั้นเราจะเพลียมากกกว่าปกติและจะพลอยไม่สบายเอาได้ ยิ่งคืนก่อนหน้าเราอดนอนมาจากการนั่งเครื่องบินข้ามคืน ยิ่งต้องนอนพักให้ได้เยอะๆ
ตื่นมาสักบ่ายๆ ค่อยหาอะไรทาน วิธีทานอาหารที่นี่คือเคี้ยวให้ละเอียดทานให้ช้าๆ เน้นทานผักเยอะๆ จะช่วยให้ย่อยง่าย ไม่ใช้อ๊อกซิเจอมากเกินไป วันแรกอาจจะแปลกๆ ปวดหัวหน่อยๆ แต่เมื่อปรับตัวให้เข้ากับความสูง 3,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลได้ก็สบายๆ ครับ
ตามโปรแกรมวันแรกตอนบ่ายแก่ๆ จะไปเที่ยว เลห์ พาเลซ เป็นปราสาทพะราชวังเก่าที่สร้างโดยมีต้นแบบจากทิเบต สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 17 มีทั้งหมด 9 ชั้น ในอดีตเป็นพระราชวังที่ประทับของราชวงศ์แห่งลาดักห์ การเดินทางต้องนั่งรถขึ้นไปสูงเหมือนกัน มองจากข้างบนเขาลงมาจะเห็นบ้านเรือนหลังเล็กๆ แออัดกันอยู่กระจุกหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า Old Leh และมองไปอีกฝั่งจะเห็น New Leh ซึ่งดูเจริญกว่ามาก
จากนั้น ข้ามเขาไปอีกลูกจะเป็น เจดีย์สันติภาพ(Shanti Stupa) ซึ่งเป็นจุดยอดฮิตที่จะไปชมพระอาทิตย์ตกดิน เป็นเจดีย์สีขาว ขนาดใหญ่โดยญี่ปุ่นเป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อประกาศพระศาสนาและแสดงถึงสัญลักษณ์แห่งสันติภาพโลกและเป็นการฉลองครบรอบ 2,500 ปี ของศาสนาพุทธ เจดีย์นี้ตั้งอยู่บนยอดเขาในแทบจังสปา เวลาพระอาทิตย์ตกดินจะเป็นโมเมนต์ที่สวยมาก
ค่ำๆ ไปเดินเล่นที่ Leh Main Bazaar กันครับ อยู่ไม่ไกลจากโรงแรม เดินประมาณ 3 นาทีถึง เป็นย่านการค้า เป็นแหล่งรวมร้านค้ามากมาย ทั้งของฝาก เสื้อผ้า เครื่องประดับ ร้านขายยา ร้านหนังสือ เอเจนท์ทัวร์ ร้านเช่ารถ ผลไม้ อาหารการกิน ของสดของแห้ง อยากได้ครีมฮิมาลายา ก็ซื้อหาได้ที่นี่ คนเยอะแยะคึกคักดีไปจนถึงสัก 4 ทุ่มครับ
โปรแกรมหลักๆ ที่เลห์ ลาดักจะแบ่งเที่ยววัด วังและธรรมชาติครับ วัดที่เราไปล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและสวยงาม แต่ว่าอยู่ไกลออกไป อาทิ Shey Palace, Thiksey Monastery, Hemis Monastery, Stock Palace Museum ที่นี่นิยมสร้างวัดเอาไว้บนยอดเขาสูง ด้วยเชื่อว่าเป็นการยกให้พุทธศาสนาเป็นสิ่งบูชาสูงสุด วัดจะมีขนาดไม่ใหญ่ เดินแป๊บๆ ก็เสร็จ แต่เรื่องความละเอียดและความงามนั้นต้องยกให้เลยครับ
เช้าวันต่อมาเราออกจากเมืองเลห์ มุ่งหน้าไปทางทิศใต้เพื่อไปวัด Hemis (เฮมิส) ซึ่งเป็นวัดและเป็นโรงเรียนสอนศาสนาด้วย ก่อตั้งโดยลามะชื่อ Stagsang Raspa Nawang ในปีค.ศ. 1630 ซึ่งลามะรูปนี้ได้รับเชิญจาก King Sengye Namgyal ให้มาเป็นผู้นำสงฆ์สูงสุดของเมืองเลห์ในสมัยนั้น
ปัจจุบันมีลามะมาศึกษาอยู่ที่นี่ราวๆ 500 รูป
และยังมีไฮไลท์อีกอย่าง คือการไปชมพิพิธภัณฑ์ของโบราณที่อยู่ชั้นใต้ดินครับ ซึ่งจะมีโบราณวัตถุสำคัญมากมาย อาทิ พระพุทธรูป หน้ากากโบราณ ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องพุทธบูชา ที่แสดงถึงความโดดเด่นด้านงานศิลป์ของชาวลาดักห์ได้เป็นอย่างดี แต่ด้านในห้ามถ่ายรูปนะครับ
Namgyal Tsemo Monastery ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงด้านหลัง Leh Palace สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 (ประมาณปี 1430) โดย King Tashi Namgyal โดยมีไฮไลท์คือพระพุทธรูปทองแดง (แต่เคลือบทอง) ความสูงเท่าตึก 3 ชั้นของ Maitrieya Buddha (พระศรีอริยเมตไตรย) และภาพเขียนสีภายในอุโบสถที่เก่าแก่แต่งดงามมีเอกลักษณ์ ด้านหน้ามักจะมีภาพสังสารวัฏประดับอยู่ทุกวัด
ต่อมาคือ Thiksey Monastery หรือคนที่นี่เรียกว่า โปตาลาน้อย เนื่องจากผู้สร้างตั้งใจจำลองแบบมาจากพระราชวังโปตาลาที่ทิเบต วัดแห่งนี้เป็นหนึ่งในวัดที่สวยงามที่สุดในแคว้นลาดักห์ เป็นวัดสำคัญใน “นิกายหมวกเหลืองหรือนิกายเกลุกปะ”
วันต่อมาเป็นเส้นทางผสมผสานระหว่างธรรมชาติและวัดวัง คือเราจะเดินทางไปที่ Lamayuru Moonland และ Lamayuru Monastery หรือดินแดนโลกพระจันทร์ ดูจากภาพเอาเราคงไม่ต้องเล่าอะไรมาก
Lamayuru อยู่ทางทิศตะวันตกของเลห์ซึ่งสามารถไปเช้ากลับเย็นได้ ออกจากที่พักแต่เช้า เราก็จะมีเวลาแวะถ่ายรูปในหลายจุด (เชื่อเถอะตรงไหนก็อยากจอด)
จุดหมายแรกที่พวกเราไปกันคือจุดตัดระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำสินธุ กับ แม่น้ำซันสการ์ ซึ่งสีของแม่น้ำทั้งสองไม่เหมือนกัน เราจะเห็นเป็นแม่น้ำสองสีเลย บุนซ็อค คนขับรถพาเราไปจอดตรงมุมมหาชนเพื่อถ่ายรูปกัน เรียกว่าถ้าไม่ได้มุมนี้กลับไปแสดงว่ามาไม่ถึงเลห์ ลาดัก
จากนั้นก็นั่งรถต่อไปอีกราวชั่วโมงก็จะถึง Lamayuru Monastery ที่ตั้งอยู่บนภูเขาหิน โดดเด่นเหนือใคร ด้านล่างตีนเขาเป็นบ้านคน จนชวนให้คิดไปว่า ชาวลาดักห์โบราณน่าจะเป็นกลุ่มคนที่มีวิทยาการก้าวหน้าอยู่ไม่น้อย เพราะจากการคะเนด้วยสายตา อยากรู้ว่า ทำอย่างไรให้โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมซึ่งทำจากหิน แต่ไม่ให้พังลงมา อาคารดั้งเดิมของวัดประกอบด้วยอาราม 5 หลัง ซึ่งยังคงพอเห็นซากหักพังได้บ้าง ณ มุมทั้งสี่ของวัด เข้าไปไหว้พระถ่ายรูปกันสักพักก็กลับ เพราะเริ่มหิวข้าว
ตอนบ่ายเราเดินจากร้านอาหารไปกันที่ Alchi monastery เป็นวัดที่ใหญ่มากและเป็นไฮไลท์ ของย่านนี้ คือภาพเขียนสีโบราณที่ลามะกลุ่มนี้กำลังจะเข้าไป ซึ่งภายในห้ามถ่ายรูปครับ
จากนั้น ก็ไปต่อกันที่ Likir Monastery ซึ่งก็เป็นวัดที่มีพระใหญ่เป็นไฮไลท์ ภายในวัดก็สามารถเดินดูได้ ใช้เวลาไม่นานครับ
วันที่ 4 ไฮไลท์ของไฮไลท์ คือเราจะไปค้างกันที่ นูบร้า วัลเลย์ (Nubra Valley) เมืองในหุบเขา มี Diskit เป็นเมืองหลวงของเขต อยู่ห่างจากเลห์ไปประมาณ 150 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะต้องผ่านเส้นทางธรรมชาติที่คดเคี้ยว ขึ้นที่สูง และจะผ่านจุดสูงสุดเป็นเส้นทางสุดหฤโหดไต่ความสูงอ้อมหุบเหวขึ้นสู่ Khardung la top ถนนสัญจรที่สูงที่สุดในโลกกับความสูง 5,363 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
ถนนเหมือนมายา ช่วงแรกก็หลอกให้เราดีใจเหมือนกับวิ่งกันสบายๆ บนทางลาดยางขนาดสองเลน แต่พอไต่เขาไปเรื่อยๆ ก็ค้นพบว่า “คุณหลอกดาว” ทางลูกรังเริ่มมา ฝุ่นเริ่มหนา ถนนแคบลง แถมยังมีบางเส้นที่กำลังก่อสร้างด้วยมือคน เมื่อไรจะเสร็จก็ไม่รู้ จะ 3 ชั่วโมงแล้วยังไร้วี่แววจุดพัก ขับรถไปคารวะฟ้าดินไป บางจุดก็คลุกฝุ่น บางจุดก็แตะขอบฟ้าเทียมเมฆ
ขึ้นไปบนเขาไม่ต้องบอกก็รู้ว่าหนาวแค่ไหน ด้านบนยังมีหิมะให้เห็น ผ่านไปประมาณ 3 ชม.นิดหน่อย เราก็มองเห็นยอดภูเขาน้ำแข็งตรงหน้าที่ระดับสายตา ธงมนตร์ล้อมรอบป้ายหินสีเหลืองที่ระบุชื่อสถานที่ Khardungla Top ถนนสัญจรด้วยรถที่สูงที่สุดในโลก 18,380 ฟุต ใช้เวลาแปบเดียวเพียงแค่ถ่ายรูปแล้วต้องรีบลงเพราะอากาศเบาบาง หายใจไม่ถนัด แทบขาดใจ
รีบลงเขาไปหาข้าวทานด้านล่างดีกว่า ไปเจอร้านอาหารนึงบรรยากาศเก๋มาก เป็นร้านแคมป์แบบกางเต๊นท์ที่ฝรั่งนั่งกินกลางแดด มีเรือแคนู ล่องแก่ง ยิงธนู มีต้นเลห์เบอรี่ให้ถ่ายรูป แต่อาหารก็อย่าได้คาดหวัง สั่งข้าวผัดกับไข่ต้มมากินก็พอ ขออภัยที่จำชื่อไม่ได้ แต่เป็นใหญ่ริมถนนทางผ่านก่อนไปถึงนูบร้าวัลเลย์
ที่นูบร้า นอกจากจะไปเที่ยววัด Diskit แล้ว ยังมีไฮไลท์คือไป Turtuk เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตีนเขา ริมลำธาร ห่างจากชายแดนปากีสถานราว 14 กิโลเมตรเท่านั้น แต่หาคนไปและหารีวิวของที่นี่ได้น้อยมาก … เพราะมันไกลมากกกกกก
จาก Hunder เราออกกันแต่เช้า ราว 3 ชั่วโมง กับระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร บรรยากาศสองข้างทางขนาบด้วยภูเขาลูกใหญ่ และเแม่น้ำ Shyok ที่ค่อนข้างเชี่ยว
รถแล่นผ่านหมู่บ้าน Bogdang ซึ่งน่าจะเป็นหมู่บ้านเดียวที่เห็น หรือผู้คนมากระจุกตัวกันอยู่ตรงนี้ก็ไม่รู้ทำให้บรรยากาศดูคึกคัก ค่อยเห็นผู้เห็นคนหน่อย เป็นหมู่บ้านแรกที่ถนนตัดผ่านใจกลางตรงไปยัง Turtuk เลย ผู้คนดูไม่ตื่นเต้นเท่าไร มียิ้มให้เล็กน้อยเมื่อยกกล้องขึ้นมาถ่าย จากนี้ไปก็อีกเพียงสิบกว่าโลจะถึงจุดหมายแล้ว
ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี้หน้าตาจะไม่เหมือนคนอินเดียเลย จะเป็นแขกขาว ตาคมโต จมูกดูสันเป็นคม การเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก และระหว่างทางจะเจอค่ายทหารตลอดเวลา เพื่อคอยรักษาการณ์จากสถานการณ์พิพาทตามแนวชายแดน อินเดีย-ปากีสถาน แต่ถึงกระนั้น เพื่อแลกกับความสวย เราก็ขอสู้ แต่พอไปอยู่จริงๆ ก็ไม่ได้รู้สึกว่ามีอันตรายใดๆ นะ
Turtuk เป็นหมู่บ้านประวัติศาสตร์ เพราะครั้งหนึ่ง ผืนดินตรงนี้เคยเป็นอาณาเขตของปากีสถาน แต่นับจากสถานการณ์สู้รบกันระหว่างปากีกับอินเดีย จบลงด้วยอินเดียเป็นฝ่ายชนะ Turtuk จึงอยู่ใต้การดูแลของอินเดียมานับตั้งแต่ปีค.ศ. 1971 เป็นต้นมา
จะสังเกตว่าคนที่นี่ไม่มีเค้าโครงของการเป็นคนอินเดียเลย เพราะส่วนใหญ่ญาติพี่น้องของเค้าก็อยู่ปากี มีการติดต่อข้ามแดนกันอยู่เป็นระยะ เพราะอีกเพียงแค่ 14 กิโลเมตรจากหมู่บ้านนี้ก็จะเป็นพรมแดนปากีสถาน หมู่บ้านนี้ยังนับเป็นจุดที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำสุดในทุกที่ทั้งหมดของทริปเลห์ ลาดัก ทำให้เราไม่รู้สึกเหนื่อยเพลียแต่อย่างใด ตรงกันข้ามเรากับตื่นตาตื่นใจกับบรรยากาศ เสียงน้ำไหล ใบไม้ที่กำลังจะเปลี่ยนจากสีเขียว เป็นสีเหลืองดูเหมือนวิวจะสวยและสดชื่นที่สุดด้วยตั้งแต่เดินทางมา
ข้ามสะพานไปหมู่บ้านจะอยู่ตรงเนินเข้าฝั่งตรงข้ามพักทานอาหารกลางวันกันที่นี่
ไฮไลท์ของที่นี่คือดงดอกไม้ ให้เราถ่ายรูปราวกับอยู่สวนแถบยุโรปก็มิปาน ผู้คนก็น่ารัก อัธยาศัยดี มีความทำไร่ทำสวนอยู่กันเงียบๆ ไป พืชผลหลักของที่นี่คือแอปปริคอทครับ
ปัญหาใหญ่ของการเดินทางไกลคือเรื่องของห้องน้ำครับ ไม่พูดพล่ามกันมาก มีก็ดี แต่ถ้าไม่มีก็หลังโขดหินเลยครับ เก็บภาพมาฝากกันเล็กน้อย
จากเรื่องส้วม กลับมาสนใจเรื่องราวระหว่างทางกันต่อดีกว่า ระหว่างทางที่ Turtuk กลับไปยัง Hander นั้นต้องบอกว่าสวยงามมากๆ ครับ มีจุดให้ถ่ายรูปตลอดเวลา อาทิ
หุบเขากระจก (ตั้งชื่อเองนะ)
โตรกธารที่มีสะพานข้าม เอ๊า โพสต์
Shyok River สายน้ำจากธารน้ำแข็ง
ส่วนไฮไลท์ในช่วงก่อนค่ำยามพระอาทิตย์ตกดิน คือการไปขี่อูฐ 2 หนอกที่นูบร้า วัลเลย์ เป็นกิจกรรมยอดฮิตของที่นี่ เห็นได้จากผู้คนและรถราที่จอดกันเยอะมาก สภาพก็ค่อนข้างวุ่นวายด้วยความไม่เป็นระเบียบของคนอินเดียที่มีอยู่แล้ว เนินทรายที่นี่มีขนาดไม่สูงมาก แต่ก็พอที่จะถ่ายรูปได้ ไปเก็บภาพมาเล็กน้อย ไม่กล้านั่งอูฐไปไกล กลัวฝุ่นละอองจากทรายเข้ากล้องแล้วเสียหายเหมือนตอนไปโมรอคโค T_T
เซลฟี่กับน้องอูฐ
เช้าวันต่อมา เราออกจาก Nubra Valley กันแต่เช้ามืด ใจนึงก็ง่วง แต่ตาก็สว่างเพราะแสงเช้าที่นี่เย้ายวนใจให้กดชัตเตอร์มาก กัลโป ไกด์มาขับรถให้เพราะดูจะชำนาญทางมากกว่า โดยใช้เส้นทาง Shyok เป็นทางลัดไปทะเลสาบพันกอง ที่เราใช้ทางเส้นนี้เพราะว่าไม่อยากกลับเข้าไปค้างที่เลห์ เส้นทางนี้เป็นทางลัดที่ยังไม่ค่อยมีใครเขาไปกันหรอก เนื่องจากต้องเดินทางเป็นชั่วโมงบนถนนแย่มากๆ อย่าเรียกว่าถนนเลยดีกว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งผมถามไกด์ว่า มาถูกทางแล้วใช่ไหม เพราะมองไปเหมือนวิ่งบนแม่น้ำที่น้ำแห้งเหลือแต่หิน จนกลายเป็นถนน ไกด์บอกว่าใช่ เป็นทางลัด
First View of PANGONG LAKE
ราวๆ เที่ยง เราก็ถึงที่ทะเลสาบพันกอง หรือ Pangong Lake คนจีนเรียก ฝางกงโฉ ชื่อปางกองหรือพันกองมาจากภาษาทิเบตค่ะ แปลว่า ทะเลสาบยาวๆแคบๆ ความยาวของมัน ยาวพาดสองประเทศ ประมาณ 134 กิโลเมตร ช่วงกว้างสุด 5 กิโลเมตร และจุดที่น้ำลึกสุดคือ 100 เมตร ทะเลสาบตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน อยู่ฝั่งอินเดีย 40%ค่ะ นอกนั้นอยู่ฝั่งทิเบต ทะเลสาบนี้เลยอยู่บนพื้นที่ความขัดแย้งทางดินแดนระหว่างจีนและอินเดีย เพราะแต่ละประเทศก็อ้างสิทธิของตัวเอง สมัยก่อนเคยขัดแย้งกันมาก แต่ตอนนี้ไปเที่ยวได้ ถือว่าทะเลสาบนี้เป็นพื้นที่อ่อนไหวอยู่
พันกองเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่สูงที่สุดในโลก ความเค็มของมันน่าจะมาจากแร่ธาตุจากเทือกเขาแถวนั้น เนื่องจากความสูงของมันอยู่ที่ 4,350 เมตร นี่ระดับยอดเขาที่มีหิมะปกคลุม แน่นอนว่าอากาศที่นั่นเบาบาง และหนาวมาก ลมแรงทั้งวัน
จำได้ว่าที่นี่เป็นสถานที่ถ่ายทำฉากตอนจบของหนังเรื่อง 3 idiots วินาทีแรกที่เห็น ทำให้สีมันสวยขนาดนี้ คุมโทนฟ้าน้ำตาลดีมาก สีของน้ำจะขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้า ถ้าฟ้าโปร่งเมฆน้อยๆ ทะเลสาบจะเป็นสีฟ้าสดใสมาก แต่ถ้าเมฆเยอะทะเลสาบจะสีออกขาว สวยกันคนละแบบ มาตอนเช้าตอนเย็นก็สีสด ตอนเที่ยงอาจจะจ้าไปสักนิด ยังไม่กล้าที่จะกางเต๊นท์นอน เพราะคงหนาว และไม่กล้าเข้าห้องน้ำจริงๆ และแน่นอนว่าไม่ต้องอาบน้ำ อันนี้ทำได้สบาย 555
141 กิโลเมตรเป็นระยะทาง ระหว่าง Pangong Lake ไป เลห์ ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง อยากทำเวลาให้ไปทันมื้อค่ำ ที่ Cafe Cloud จะผ่าน Chang La Pass ซึ่งเป็นถนนที่มีระดับความสูงประมาณ 17,590 ฟุต หรือ 5,360 เมตรจากระดับน้ำทะเล และจะพบตัว Marmot ซึ่งหน้าตาคล้ายกระรอก แต่ตัวใหญ่กว่า อาศัยในรู ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวมาแวะจอดถ่ายรูปเล่นกับเจ้าตัวนี้กัน เอาแอปปเปิ้ลหั่นมาจากรีสอร์ท กะไว้กินเอง แต่ไม่ละ เอามาแบ่ง Marmot ดีกว่า เอาฟันหน้าแทะน่ารักๆ ติดสินบนด้วยแอปเปิ้ลแป๊บเดียว นอนให้เขี่ยเล่นเลย สงสัยอิ่มจัดซัดไปหลายชิ้น
บุนซ็อคและแก๊งค์บอยแบนด์ของเรา ทำเวลามาถึงที่เมือง Thinksey ช่วงก่อนค่ำ จะได้ทานมื้ออำลาที่ Cafe Cloud พร้อมกับบรรยากาศรอบกองไฟ ก่อนจะเข้าเมืองเลห์เพื่อไปพักผ่อน ก่อนกลับไทยในช่วงเช้าตรู่
ไฟล์ทจาก Leh ไป Delhi คือ 07.20 น. ตอนเช้า สนามบินที่เลห์ค่อนข้างเล็กและไฟล์ทคนเยอะ เช็คความเรียบร้อยก็นาน ดังนั้นต้องเผื่อเวลาสักหน่อย ไปถึงเดลีช่วงสาย สามารถเช็คทรูกระเป๋าไปลงยังกรุงเทพได้เลย ก็เลยตัวปลิวไปต่อเครื่อง สบายๆ รอไฟล์ทอีกทีราวบ่าย 2 มีเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง เดิน Duty Free ช้อปอะไรติดไม้ติดมือมาเล็กน้อยก่อนถึงไทยในช่วงค่ำ
ถ้าถามว่าชอบ Leh มั้ย?
ส่วนตัวให้ 70-30 มีอยู่เล็กน้อยที่ยังตะขิดตะขวงใจ แต่รับสภาพได้ เพราะไปอินเดียกับเมืองจีนตามต่างจังหวัดมาแล้วก็หลายครั้ง โดยเฉพาะเรื่องความสะอาด กับมารยาทของคนท้องถิ่น แต่คนเลห์จริงๆ น่ารักนะ มีน้ำใจ ส่วนเรื่องอาหารก็เรื่องใหญ่ ทานค่อนข้างยาก ต้องอาศัยมาม่าหลายมื้อเหมือนกัน แต่บางมื้อก็ทานได้สบายๆ
แต่ที่ชอบคือ ความดิบ ความสด ความธรรมชาติของที่นี่ นึกถึงภาพทิเบตเมื่อสัก ยี่สิบปีที่แล้ว แล้วจะมองออกว่า คล้ายๆ กัน แต่ตอนนี้ทิเบตไปไกลกว่ามาก เพราะจีนเอาใจเต็มที่ ส่วนที่เลห์ ยังคงเป็นไปตามสไตล์อินเดียคือไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก สร้างยังไม่เสร็จก็สร้างต่อไป วิวก็สวยแบบสาวหน้าสด ปัดแก้มบางๆ ทาลิปสีนู๊ดเบาๆ เท่านี้ก็พอละ
อยากชวนคนข้างๆ คนรู้จัก มาแวะทักทายเลห์สักครั้ง มาเห็น เลห์ ลาดักห์ ด้วยตาเขาเองสักครั้งหนึ่งในชีวิตครับ สวยสุดๆ ฉุดไม่อยู่จริงๆ
ความเรียบง่ายของเลห์ ทำให้กลบความไม่สมบูรณ์แบบที่เกิดขึ้นและกลายเป็นเสน่ห์ที่ยั่วยวนให้ไปเยี่ยมเลห์อีกถ้ามีโอกาส
โอกาสที่ว่า น่าจะประมาณ มิถุนายน ปีหน้านะ