ข้อมูลนี้สำหรับท่านที่มีทริปเดินทางไป “ทิเบต” ครับ
พอฟังชื่อทิเบต หลายคนปวดหัวรู้สึกหายใจไม่ออกขึ้นมาทันที
… ทั้งๆ ที่ไม่เคยไป
แต่ทราบมาว่าอ๊อกซิเจนน้อย ทำให้เราหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย อาจจะถึงขั้นหมดสติได้
ถูกต้องครับ มันเกิดขึ้นได้ … แต่ไม่ใช่กับทุกคนครับ
อาการเหล่านี้เรียกว่า High Altitude Sickness คือ กลุ่มโรคที่เกิดจาก การที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย ซึ่งประกอบด้วย 3 โรคหลักๆ ดังนี้
1. Acute Mountain Sickness (AMS) เป็นโรคที่มีความรุนแรงไม่มาก เกิดเมื่อมีการเดินทางขึ้นไปที่สูง โดยทั่วไปต้องมากกว่า 2500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยจะมีอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ ซึ่งเป็นอาการเด่นของภาวะนี้ อาการอื่นๆ ที่พบได้บ่อยคือ นอนไม่หลับ เหนื่อย หายใจเร็ว โดยอาการต่างๆเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากขึ้นไปที่สูงประมาณ 4-10 ชั่วโมง ที่พบบ่อยคือเกิดขึ้นในคืนแรกที่ขึ้นไปที่สูง โดยทั่วไปอาการจะไม่รุนแรงมาก และร่างกายจะค่อยๆปรับตัวได้เองภายใน 1-2 วัน
2. High Altitude Cerebral Edema (HACE) หรือภาวะสมองบวมจากการอยู่ในพื้นที่สูง เป็นภาวะที่เกิดต่อเนื่องจากภาวะ AMS โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ เห็นภาพซ้อน ถ้ามีอาการรุนแรงมากจะมีชัก หมดสติ จนถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้ามีอาการดังกล่าวต้องรีบพบแพทย์ และเดินทางลงสู่ในพื้นที่ต่ำกว่าทันที
3. High Altitude Pulmonary Edema (HAPE) คือภาวะปอดบวมน้ำจากการอยู่ในพื้นที่สูง เป็นภาวะที่รุนแรงซึ่งอาจเกิดขึ้นเดี่ยวๆหรือเกิดขึ้นร่วมกับภาวะ HACE ก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก อยู่เฉยๆก็เหนื่อย ภาวะนี้ทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้าเกิดภาวะดังกล่าวขึ้น ต้องรีบพบแพทย์และเดินทางลงสู่พื้นที่ต่ำกว่าทันที
เหล่านี้เป็นข้อมูลขั้นต้นสำหรับกลุ่มอาการ Altitude Sickness ครับ
ซึ่งในดูแลตนเองนั้นก็จะใช้ยา Diamox ก็จะพอช่วยบรรเทาได้ แต่มีข้อแม้สำหรับผู้ที่แพ้ยาซัลฟา ห้ามรับประทานยา Diamox โดยเด็ดขาด
และหากไปยอดเขาสูงๆ แล้วมีอาการ เวียนศรีษะ มึนงง อ่อนเพลีย ง่วงนอน ไม่ควรรับประทานยานอนหลับ หรือ ยาประเภทแก้ปวด เช่น ทิฟฟี่ ดีคอลเจน พาราเซตาม่อน ตรงนี้ต้องท่องไว้เลยนะครับ
และที่สำคัญคือต้องเชื่อมันในอาการ และความรู้สึกของตนเอง “อย่าอุปทาน” ครับ
การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ที่ทิเบต
1.ทำจิตใจให้สบายอย่างเครียดหรือกังวลมากเกินไป
2. ปฏิบัติตนให้ช้าลง อย่ารีบร้อนทำกิจกรรมต่างๆ เนื่องจากปริมาณออกซิเจนที่อยู่รอบตัวเราลดน้อยลงกว่าพื้นที่ราบข้างล่าง
3. เวลารับประทานอาหารควรค่อยๆเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน เพื่อเป็นการช่วยกระเพาะอาหารในการย่อย
4. จิบน้ำบ่อยๆ ไม่ควรดื่มน้ำคราวละเยอะๆ แต่ควรค่อยๆจิบน้ำเป็นระยะๆ
5. หากมีอาการ เวียนศรีษะ มึนงง อ่อนเพลีย ง่วงนอน ไม่ควรรับประทานยานอนหลับ หรือ ยาประเภทแก้ปวด เช่น ทิฟฟี่ ดีคอลเจน พาราเซตาม่อน เพราะอาการเหล่านั้นคือ อาการแพ้ที่สูง (Altitude Sickness) ซึ่งยาที่สามารถบรรเทา อาการเหล่านั้นได้ดี คือยา Diamox (ห้าม ผู้ที่แพ้ยาซัลฟารับประทานยานี้โดยเด็ดขาด)
6.อย่าอาบน้ำทันทีเมื่อไปถึงพื้นที่สูง และไม่ควรสระผมในขณะที่อยู่ที่ทิเบต หรือ ถ้าหากสระผมควรจะรีบเป่าผมให้แห้งโดยเร็วไม่ควรปล่อยให้ศรีษะเปียกเป็นเวลานาน
7.เมื่อเข้าสู่โรงแรมที่พัก ไม่ควรนอนหลับทันที แต่ควรหากิจกรรมเบาๆทำ เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ ฯลฯเนื่องจากการนอนหลับจะทำให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนน้อยลง